วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพลงอาเซียน



เพลงร่วมใจอาเซียน







ความหมายของสัญลักษณ์ธงอาเซียน



สัญลักษณ์อาเซียน คือต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 

สัญลักษณ์ธงอาเซียน

สัญลักษณ์ธงอาเซียน





สมาชิกในกลุ่มอาเซียน

 ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนมีด้วยกัน 10 ประเทศ คือ

บรูไน ดารุสชาลาม(บันดาร์ เสรีเบกาวัน)


กัมพูชา(กรุงพนมเปญ)


อินโดเนียเซีย(จาการ์ตา)

ลาว(นครเวียงจันท์)


มาเลเซีย(กรุงกัวลาลัมเปอร์)


พม่า(เปลี่ยนจากย่างกุ้งเป็นเนปีดอ)


ฟิลิปปินส์(กรุงมะนิลา)

สิงคโปร์(สิงคโปร์)


ประเทศไทย(กรุงเทพมหานคร)


เวียดนาม (กรุงฮานอย)



วัตถุประสงค์ของก่อตั้งอาเซียน

วัตถุประสงค์ของก่อตั้งอาเซียน



พื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ  สัญลักษณ์ของอาเซียน   คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากอาเซียน



ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากอาเซียน


                      ตามที่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า (AFTA) ได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยมีสินค้าเกษตรจำนวน 23 รายการที่จะต้องยกเลิกโควตา และลดภาษีเป็น 0% ประกอบด้วย น้ำนมดิบ/นมพร้อมดื่ม นมผงขาดมันเนย หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ กระเทียม พริกไทย มันฝรั่ง ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไหมดิบ ลำไยแห้ง เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ชา น้ำตาล และใบยาสูบยกเว้น เมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง และเนื้อมะพร้าวแห้งที่ภาษีเป็น 5% ซึ่งแม้ว่าในภาพรวมสินค้าเกษตรไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนได้มากขึ้น และสินค้าวัตถุดิบนำเข้ามีราคาถูกลงทำให้ลดต้นทุนการผลิตเพื่อส่งออก แต่ก็พบว่ามีสินค้าเกษตรบางรายการที่อาจจะได้รับผลกระทบ เช่น ปาล์มน้ำมัน และข้าว เป็นต้น สำหรับในเรื่องข้าวแม้ว่าในภาพรวมของการเปิดเขตการค้าเสรีจะไม่ได้รับผลกระทบนัก เนื่องจากข้าวไทยเป็นตลาดข้าวคุณภาพสูง และสินค้าข้าวที่อยู่ในข้อตกลงเป็นข้าวประเภทปลายข้าวหักซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมแปรรูปจากข้าวเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความกังวลในเรื่องข้าวที่ด้อยคุณภาพจะเข้ามายังประเทศไทย โดยการลักลอบผ่านตามแนวชายแดนซึ่งจะยากต่อการควบคุมและตรวจสอบแหล่งที่มาทำให้เกิดผลกระทบต่อราคาข้าวของเกษตรกรได้ ล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือในการควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารตามแนวชายแดนไทยไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมศุลกากร เพื่อป้องกันการลักลอบการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารในส่วนที่อยู่นอกเขตด่าน ของกระทรวงเกษตรฯ อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนในเรื่องปาล์มน้ำมันซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันนั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดสัมมนาเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและผู้ประกอบการ ซึ่งได้เสนอแนวทางหลัก 2 ด้าน คือ 1. ด้านกฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาการผลิตปาล์มทั้งระบบให้สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งหลักได้ เช่น การออกกฎหมายรองรับในเรื่องปาล์มน้ำมัน มาตรฐาน ปาล์มน้ำมัน การประกันรายได้ของปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพดีเช่นเดียวกับข้าว การจัดตั้งกองทุนปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกับกองทุนยางพารามีการบริหารการนำเข้า ที่มีประสิทธิภาพ โดยควรนำเข้าเฉพาะน้ำมันปาล์ม เพื่อการบริโภคเท่านั้น และกำหนดระยะเวลานำเข้าที่ชัดเจน ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาปาล์มภายในประเทศ และ 2. ด้านการผลิต โดยส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร เช่น การใช้ปุ๋ย ดินและพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องอุตสาหกรรมปาล์มโดยเฉพาะบุคลากรที่ความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ และจากข้อมูลมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับอาเซียน พบว่า ในปี 2551 ประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปยังอาเซียนจำนวนประมาณ 146,000 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากอาเซียน มีเพียงประมาณ 44,400 ล้านบาท ไทยได้เปรียบดุลการค้าคิดเป็นมูลค่าประมาณ 102,000 ล้านบาท ในภาพรวมจึงถือว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์มากกว่า ในการเปิดเสรีการค้าไทยอาเซียน เนื่องจากไทยมีศักยภาพการผลิตสูงกว่าประเทศในอาเซียน โดยคาดว่าผลจากการที่อาเซียนจะลดภาษีเป็น 0% ทำให้ GDP ของไทยในปี 2558 เพิ่มขึ้น 1.75% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 204,000 ล้านบาท 

หน่วยงานและส่วนเกี่ยวข้อง

หน่วยงานและส่วนเกี่ยวข้อง


1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat  ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
  2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน  มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน

โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน 


นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น 

ประวัติและความเป็นมา


ประวัติและความเป็นมา
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย


จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้


ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม